บทที่ 3 ออกแบบเพื่อผู้ใช้
กำหนดเป้าหมายของเว็บ
เป้าหมายของเว็บไซต์ควรจะสัมพันธ์กับเป้าหมายของหน่วยงาน สามารถวัดผลได้ และตั้งอยู่บนความเป็นไปได้ เพื่อจะได้ออกแบบเนื้อหาและการใช้งานภายในเว็บ ได้ตรงตามเป้าหมาย
รุ้จักกลุ่มผู้ใช้
สิ่งสำคัญเกี่ยวกับผู้ใช้ประกอบด้วย
1.ใครคือผู้ใช้หลักของเว็บ
2.พวกเขามีจำนวนเท่าไหร่
3.พวกเขาเข้าถึงเว็บไซต์ได้อย่างไร
4.อะไรคือสิ่งที่พวกเขาต้องการ
5.พวกเขาทำอะไร เมื่อเข้ามาถึงเว็บไซต์
ข้อมูลผู้ใช้แบบเป็น4แบบ
1.Demographics : ข้อมูลทางประชากร เช่น เพศ อายุ ที่อยู่ เป็นข้อมูลที่หาได้ง่าย
2.Webographics : ข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์ ความคิดและพฤติกรรม ได้แก่
- สถานที่ในการเข้าสู้อินเตอร์เน็ต
- ช่วงเวลาที่ออนไลน์
- ความถี่ในการเข้าชมเว็บ
3.Psychographics : ลักษณะทางจิตวิทยา ความสนใจ ความนิยม ทัศนคติ
4.Behavior & Activities : พฤติกรรมและกิจกรรมที่ชื่นชอบ
สิ่งที่ผู้ใช้ต้องการจากเว็บไซต์
- ข้อมูลและการใช้งานที่เป็นประโยชน์
- ข่าว ที่ใหม่และอัพเดทอยู่เสมอ
- การตอบสนองต่อผู้ใช้
- ความบันเทิง
- ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท
- คำถามยอดนิยม
- ข้อมูลในการติดต่อ
เราควรออกแบบเว็บไซต์สำหรับผู้ใช้ไม่ใช่สำหรับตัวเอง
บทที่ 4 จัดระบบข้อมูลในเว็บ
ความจำเป็นในการจัดระบบข้อมูล
ช่วยสร้างความเข้าใจ อธิบายและควบคุมการรับรู้ข้อมูลของผู้คน ทำให้ผู้ใช้เข้ามาค้นหาข้อมูลได้อย่างสะดวกและตรงตามความต้องการ
การจัดลำดับความสำคัญของข้อมูล
ได้แก่ การกำหนดตำแหน่งของข้อมูลและเทคนิคที่ใช้นำเสนอ ผู้ออกแบบควรจัดกลุ่มข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน โดยการจัดกลุ่มกระทำได้หลายลักษณะ
1.สร้างการเชื่อมโยงแบบรายการย่อย
2.จำกัดของเขตข้อมูลที่สัมพันธ์กันเอาไว้
3.จัดลำดับความสำคัญของข้อมูลแบบซ้อนกัน
การจัดระบบข้อมูลประกอบด้วย
1.แบบแผนระบบข้อมูล (Organization Schemes)
2.โครงสร้างระบบข้อมูล (Organization Structure)
แบบแผนระบบข้อมูล ประกอบด้วย
1.แบบแผนระบบข้อมูลแบบแน่นอน ได้แก่ ระบบข้อมูลตามตัวอักษร ระบบข้อมูลตามลำดับเวลา หรือตามพื้นที่
2.แบบแผนระบบข้อมูลแบบไม่แน่นอน เป็นการรวบรวมข้อมูลที่คล้ายหรือใกล้เคียงกัน ดังนั้นการค้นหาข้อมูลประเภทนี้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้รายละเอียดของสิ่งที่ค้นหาเพิ่มขึ้นตามจำนวนครั้งที่เราค้นหา
3.แบบแผนข้อมูลผสม
โครงสร้างระบบข้อมูลในเว็บไซท์ แบ่งเป็น3 รูปแบบ
1.โครงสร้างข้อมูลแบบลำดับชั้น เหมาะกับข้อมูลบนเว็บ เพราะในทุกเว็บจะเริ่มจากหน้าโฮมเพจก่อนเสมอ ความกว้างของโครงสร้างระบบข้อมูลควรมี 7 บวก ลบ 2 รายการ ส่วนความลึกไม่ควรเกิน 4-5 ชั้น
2.โครงสร้างข้อมูลแบบไฮเปอร์เท็กซ์ มีลักษณะคล้ายเครือข่ายโยงใย จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือรายการหรือกลุ่มข้อมูลที่ถูกลิงค์ กับลิงค์ที่เชื่อมโยงข้อมูลเหล่านั้น
3.โครงสร้างข้อมูลแบบฐานข้อมูล มักนิยมใช้กับเว็บที่มีขนาดใหญ่ เพิ่มความสามารถในการค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง
บทที่ 6 ออกแบบหน้าเว็บ Page Design
หลักสำคัญในการออกแบบหน้าเว็บ
คือ การใช้รูปภาพและองค์ประกอบต่างๆ ร่วมกัน เพื่อสื่อความหมายเกี่ยวกับเนื้อหาหรือลักษณะสำคัญของเว็บให้น่าสนใจ บนพื้นฐานของความเรียบง่ายและสะดวกของผู้ใช้
หลักการออกแบบหน้าเว็บ
1.สร้างลำดับชั้นความสำคัญขององค์ประกอบ
2.สร้างรูปแบบ บุคลิก สไตล์
3.สร้างความสม่ำเสมอตลอดทั่วทั้งไซต์
4.จัดวางองค์ประกอบที่สำคัญไว้ในส่วนบนของหน้า
5.สร้างจุดสนใจด้วยความแตกต่าง
6.จัดแต่งหน้าเว็บให้เป็นระเบียบและเรียบง่าย
7.ใช้กราฟิกอย่างเหมาะสม
เราสามารถใช้ประโยชน์จากเว็บได้2แนวทาง
1.การใช้เป็นสื่อโดยตรงให้อ่านบนหน้าจอ
2.การใช้เป็นสื่อกลางในการพิมพ์ข้อมูลลงในหน้ากระดาษเพื่อเก็บรวบรวมหรืออ่านภายหลัง
รูปแบบโครงสร้างหน้าเว็บ แบ่งเป็น 4 รูปแบบ
1.โครงสร้างหน้าเว็บในแนวตั้ง ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะมีรูปแบบที่ง่ายในการพัฒนาและมีขข้อจำกัดน้อยสุดเมื่อเทียบกับรูปแบบอื่น
2.โครงสร้างหน้าเว็บในแนวนอน ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์และความพยายามมากกว่าปรกติ เนื่องจากมีข้อจำกัดและสิ่งที่ต้องระวังค่อนข้างมาก
3.โครงสร้างหน้าเว็บที่พอดีหน้าจอ รูปแบบนี้ใช้พื้นที่น้อวกว่าเว็บทั่วไปและมักจะจัดอยู่ตรงกึ่งกลางของหน้าจอ จะไม่มี Scroll Bar
4.โครงสร้างหน้าเว็บแบบสร้างสรรค์ รูปแบบนี้อยู่เหนือกฏเกณฑ์ มักมีรูปแบบและการจัดวางองค์ประกอบเฉพาะตัวที่คาดไม่ถึง มักจะเป็นเว็บของศิลปิน นักออกแบบ บริษัทโฆษณา
ส่วนประกอบของหน้าเว็บ แบ่งเป็น 3 ส่วน
1.ส่วนหัว (Page Header)
2.ส่วนเนื้อหา (Page Body)
3.ส่วนท้าย (Page Footer)